อาการปวดหลัง ที่มาจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
โรดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทระดับเอว จะมีอาการปวดหลัง สะโพก หรือปวดร้าวลงไปถึงเข่า ข้อมเท้าและเท้า อาจมีอาการชา อาการขาอ่อนแรงเกิดได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยสูงอายุ
สาเหตุของโรค เกิดได้จากความผิดปกติ ช่วงหมอนรองกระดูกสันหลังเองหรือเกิดจากการรับน้ำหนักมาก การนั่งทำงาน และท่าทางไม่เหมาะสม การเล่นกีฬาที่หมอนรองกระดูกสันหลังที่ไม่เหมาะสมรับน้ำหนักมากๆเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้หมอนรองกระดูกรอบนอกฉีกขาด ส่วนในของหมอนรองกระดูกสันหลัง จึงเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท
โรคอื่นที่อาการคล้าย โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้แก่
– กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
– กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ (piriformis syndrome)
– โรคของข้อต่อกระดูกเชิงกราน (Diseases of the peivic joints)
การรักษา
1. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้มีการอาการมากขึ้น เช่น การกัมยกของ การแบกของ การอุ้มเด็ก การนั่งรอ หรือ ยืนตัวงอ การใส่รองเท้าสันสูง
2. บริหารกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง มีท่าบริหารที่เหมาะสม และออกกำลัง
3. พยายามลดความอ้วน
4. การใช้เสื้อพยุงหลัง (Lumbur suppor) ใส่เมื่อมีอาการปวดหลังมาก และต้องทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ควรใส่ตลอดเวลา
5. การทำกายภาพบำบัด เช่น ประคบ การใช้อัลตราซาวด์ ร่วมกับยึดกล้ามเนื้อ ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย
6. การรับประทานยา
7. การฉีดยาระงับอาการอักเสบ
8. การผ่าตัด มีวิธีการผ่าตัดหลายวิธี ไม่มีวิธีไหนที่ดีที่สุด หรือใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย
ที่มา โรงพยาบาลวิภาราม ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร