แนวคิดประชาสังคมกับรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 2

แนวคิดประชาสังคมกับรัฐธรรมนูญ  ตอนที่ 2

 

(2) สัญญาประชาคม สภาวะตามธรรมชาติของมนุษย์สิ้นสุดลง เพราะเกิดมีผู้ละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของผู้อื่น โดยขาดองค์กรทำหน้าที่ลงโทษและคุ้มครองป้องกัน มนุษย์จึงจำเป็นต้องก่อตั้งสังคมที่มีระเบียบในทางการเมืองขึ้นด้วยการทำ สัญญาประชาคมเพื่อมีหลักประกันในความมั่นคงแห่งสิทธิตามธรรมชาติ

มนุษย์ในสภาวะที่เป็นอิสระและเสมอภาพกัน แต่มนุษย์ก็มีเหตุผลซึ่งทำให้มนุษย์รู้จักจำแนกแยกแยะกฎธรรมชาติและทำตนให้สอดคล้อง มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมการเมืองก็เพราะเขาได้สละสิทธิที่จะลงโทษการละเมิดกฎธรรมชาติด้วยตัวตนเองและรับรู้อำนาจบังคับทีเป็นอิสระต่อพวกเขาอยู่เหนือพวกเขา อำนาจซึ่งหน้าที่ปราบปรามการละเมิดกฎหมาย บทบัญญัติมูลฐานของสัญญาประชาคมอยู่ที่การสละสิทธิที่ลงโทษการละเมิดกฎธรรมชาติ อำนาจขององค์คณะการเมืองเกิดจากผลรวมของการสละสิทธิของบุคคล รัฐจึงก่อกำเนิดจาการสละสิทธิของบุคคลจำนวนหนึ่งในสังคมเพื่อจัดตั้งองค์กรการเมือง เขาต้องยอมรับกฎข้อบังคับต่างๆของสังคม

อำนาจการเมืองซึ่งเกิดจากสัญญาประชาคม จะขยายออกไปได้ก็เท่าที่จำเป็นต่อจุดมุ่งหมายของสังคม มนุษย์เข้ามาใช้วีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสังคมก็เพื่อสร้างหลักประกันให้กับความอยู่ดีกินดีรวมถึงการธำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน ทั้งนี้ก็โดยอาศัยพลังอำนาจบังคับอันเป็นอิสระต่อบุคคลและอยู่เหนือบุคคล การจัดตั้งสังคมการเมืองจะทำให้เสรีภาพและทรัพย์สินซึ่งมีอยู่ในสภาวะธรรมชาติถูกจำกัดไป แต่ไม่ใช่ถูกทำลายล้าง นี้คือมูลฐานระหว่างเสรีนิยมกับเผด็จการนิยมเบ็ดเสร็จ

ในแนวความคิดเผด็จการนิยมเบ็ดเสร็จ มนุษย์เข้ามาอยู่ในรัฐได้สละทุกสิ่งให้กับรัฐและรัฐให้เสรีภาพส่วนน้อยแก่มนุษย์ตามความปรานีของรัฐหรือตามแต่พลังอำนาจของรัฐ และในขณะที่ในแนวความคิดเสรีนิยม มนุษย์เข้ามาอยู่ในรัฐไม่ใช่ด้วยชีวิตของโดยทั้งหมด แต่ด้วยส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น โดยมนุษย์มุ่งหวังที่จะได้ประโยชน์บางอย่างตอบแทนเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เขาได้ยอมเสียสละให้กับรัฐ มิฉะนั้นมนุษย์ก็ไม่มีเหตุผลอ้างที่จะเลือกเอารัฐเป็นแบบการดำรงชีวิต

(3) สถาบันอันมีเสรีภาพเป็นจุดมุ่งหมาย สัญญาประชาคมมีรากฐานมาจากเสรีภาพ สถาบันเป็นบ่อเกิดที่ธำรงรักษาเสรีภาพ สถาบันจะปกป้องรักษาคุ้มครองเสรีภาพก็คือ การจำแนกแยกอำนาจต้องแบ่งการใช้อำนาจเป็นไปตามกิจกรรมต่างๆออกเป็น สถาบันนิติบัญญัติ บริหารและการต่างประเทศ

รูปแบบการปฏิบัติการแห่งอำนาจไม่ควรที่จะเอาไปมอบหมายให้กับบุคคลเดียวกันโดยทั้งหมดจะต้องแยกการออกกฎหมายออกจากการดำเนินการใช้บังคับ กล่าวคือ อำนาจการออกกฎหมายควรเป็นของสภา ส่วนอำนาจในการดำเนินการใช้กฎหมายควรมอบให้กับสมาชิกของสังคมในจำนวนจำกัดสำหรับอำนาจสมาพันธ์นั้นจะเอาไปรวมอยู่กับอำนาจบริหาร การจำแนกอำนาจเป็นสามองค์กรในที่สุดได้ลดเหลือเพียงสององค์กร คือ นิติบัญญัติและบริหาร

อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารได้แยกออกจากกันเป็นอำนาจที่ไม่เท่ากัน เพราะกฎหมายฉบับแรกและฉบับมูลฐานของทุกรัฐคือ กฎหมายที่จัดตั้งอำนาจนิติบัญญัติซึ่งเป็นอำนาจที่ต้องธำรงรักษาสังคมเอาไว้เช่นเดี่ยวกับกฎมูลฐานต่างๆของธรรมชาติ ดังนี้ อำนาจนิติบัญญัติจึงเป็นอำนาจสูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ อำนาจนิติบัญญัติคือจิตวิญญาณขององค์คณะการเมืองซึ่งสมาชิกทุกคนของรัฐต่างได้รับทุกสิ่งที่จำเป็นต่อการธำรงอยู่ของพวกเขาตลอดถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความผาสุกของพวกเขา ดังนั้น อำนาจบริหารย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจนิติบัญญัติ แต่อำนาจบริหารไม่ใช่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติที่คอยฟังแต่คำสั่งของฝ่ายนิติบัญญัติ ผลประโยชน์ของสังคมยังผลให้ตัดสินใจในหลายสิ่งหลายอย่างต้องขึ้นกับดุลยพินิจของบริหาร

อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจสูงสุดและศักดิ์ดังกล่าวนี้หมายความด้วยหรือไม่ว่าอำนาจสูงสุดของรัฐสภาเป็นอำนาจปราศจากขอบเขต อำนาจของสังคมและเป็นรากฐานให้กับเสรีภาพ อำนาจนิติบัญญัติในระบอบของล็อดจึงเป็นอำนาจทีตกทอดมาจากอำนาจดั้งเดิมของสมาชิกแต่ละคนในสังคม ซึ่งอำนาจดั้งเดิมนี้ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใดมีอำนาจพลการเหนือตัวเขาเองหรือของผู้อื่น

เหตุผลเดียวกันนี้อาจนำเอามาใช้กับฝ่ายบริหารได้เช่นกัน แม้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะอยู่ในฐานะเป็นอำนาจสูงสุด แต่ไม่มีมูลฐานในเรื่องระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร กล่าวคือ ประชาชนซึ่งได้ยินยอมเข้ารวมกันเป็นสังคม ได้มอบความไว้วางใจให้ฝ่ายนิติบัญญัติเช่นเดียวกับฝ่ายบริหารเป็นผู้ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ อำนาจก็คือภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้กับผู้ปกครองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ถ้าผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาหรือกษัตริย์ปฏิบัติการในทางตรงข้ามกับจุดมุ่งหมายนี้ คือ สาธารณประโยชน์ ประชาชนก็จะถอดความไว้วางใจถอนอำนาจกลับคืนมา ประชาชนจะเอาอำนาจสูงสุดแรกเริ่มของเขากลับคืนมา เพื่อมอบหมายให้กับผู้ที่เขาเห็นสมควรต่อไป ประชาชนผู้มอบหมายอำนาจ จะเป็นผู้ตัดสิน

(4) สิทธิในการลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจ ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารได้กระทำการละเมิดสิทธิธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพและทรัพย์สินประชาชนก็สามารถใช้กำลังเข้าจัดการได้ เป็นสิทธิอันชอบของประชาชนที่จะลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจ

การใช้สิทธินี้จะต้องไม่เป็นไปเพื่อสนองความปรารถนาชั่วครู่ชั่วยามของประชาชน แต่ต้องเป็นไปเพื่อปกป้องระบบที่มีอยู่เพื่อจัดตั้งขึ้นใหม่ ทฤษฏีของล็อดเรื่องนี้จัดในแนวอนุรักษ์นิยม การรับรู้สิทธิในการต่อต้านอำนาจเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองต้องไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป และทำให้หลักความถูกต้องด้วยกฎหมายได้รับกฎหมายได้รับการเคารพปฏิบัติตาม สิทธิในการลุกขึ้นต่อต้านอำนาจ คือการเรียกร้องให้ใช้ความสุขุมและการประนีประนอมกัน

อุดมการณ์ทางการเมืองของล็อดสอดคล้องกับอุดมการณ์ของชนชั้นกลางซึ่งกำลังขยายตัวและนี้คือเหตุผลสำคัญที่ว่าทำไมอิทธิพลทางความคิดของล็อดจึงมีมหาศาลล็อดปกป้องทรัพย์สินส่วนบุคคล เรียกร้องศีลธรรม ต้องการอำนาจที่มีประสิทธิภาพที่มาจากความยินยอม ปัจเจกบุคคลนิยมของล็อดปัจเจกนิยม ที่น้อมรับฝ่ายข้างมาก ล็อดเป็นทั้งนักประสบการณ์นิยม(empirisme)และเหตุผลนิยม (rationalisme)

                                                      +++++++ คอยติดตามอ่านตอนต่อไปพรุ่งนี้++++++++

                              

เกี่ยวกับ teerayaut

จงทำความดี เพื่อวันข้างหน้า..
ข้อความนี้ถูกเขียนใน ความรู้ทั่วไป คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น