หลักการของกฎหมายอวกาศ ตอนที่ 1

             สรุปจากคำบรรยายของ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ

วิชากฎหมายอวกาศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            ตั้งแต่ประเทศมหาอำนาจประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศขึ้นไปโคจรในอวกาศ ในปี ค.ศ.1957 ซึ่งถือว่าเป็นการบุกเบิกการเดินทางไปอวกาศ รัฐทั้งหลายต่าตะหนักดีถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในการใช้บังคับกับกิจกรรมต่างๆในอวกาศ เพื่อมิให้อวกาศเป็นต้นกำเนิดแห่งความขัดแย้งระหว่างรัฐขึ้นซึ่งต่างก็ปรารถนาที่แสวงประโยชน์จากการใช้อวกาศในลักษณะต่างๆ ดังนั้นจึงมีการบัญญัติกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อป้องกันข้อพิพาทและเพื่อความสงบเรียบร้อยในสังคมระหว่างประเทศเอง โดยกฎเกณฑ์พื้นฐานเกียวกับหลักกฎหมายอวกาศ ปี ค.ศ. 1967 และยังได้มีการสร้างบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นเพื่อเสริมหลักพื้นฐานเหล่านั้นโดยการทำเป็นสนธิสัญญาอีกหลายฉบับอีกทั้งยังมีการวางแนวทางของกฎเกณฑ์ในเรื่องอื่นๆในรูปของข้อมติขององค์การสหประชาชาติที่แม้ยังไม่สถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแต่ก็สะท้อนให้เห็นแนวโน้นของกฎเกณฑ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หลักการพื้นฐานของกฎหมายอวกาศ คือ หลักเสรีภาพของอวกาศซึ่งนอกจากจะยืนยันสิทธิของรัฐต่างๆในการใช้อวกาศได้อย่างเสรีก็ยังให้หลักประกันแก่รัฐทั้งปวงว่าอวกาศเป็นแดนเสรีที่รัฐไม่อาจเข้าถือครองเป็นเจ้าของหรืออ้างกรรมสิทธิ์ใดๆได้ แต่หลักการนี้ก็มีขอบเขตที่ชัดเจนมีการระบุข้อจำกัดที่ชัดแจ้งไว้ในเรื่องการใช้อวกาศในทางสันติเท่านั้น นอกจากนี้รัฐต้องใช้อวกาศอย่างรับผิดชอบ โดยเมื่อใดเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ต้องรับผิดชอบและชดใช้ จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักการกฎเกณฑ์การใช้อวกาศอย่างเสรีอย่างไร

 หลักการข้อ A      เป็นหลักการว่าด้วยเป้าหมายและจุดประสงค์ของหลักการนี้

1. ภายใต้เป้าหมายและจุดประสงค์ พูดถึงว่ากิจกรรมต่างๆ ในขอบข่ายของการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยตรงระหว่างประเทศผ่านดาวเทียมควรที่จะดำเนินการไปให้สอดคล้องกับหลักการที่ว่าสิทธิอธิปไตยของรัฐ ซึ่งรวมถึงหลักการที่ว่าด้วยการไม่เข้าไปแทรกแซง ตลอดจนเรื่องของสิทธิของแต่ละบุคคล ที่จะสามารถค้นหา แสวงหารับหรือส่งข้อมูลและความคิดต่างๆ ดังที่ปรากฏในความตกลงต่างๆ ของสหประชาชาติ

 ดังนั้นในวรรคหนึ่งเน้นหลักๆ ทั่วไปก่อน หลักที่ 1 ก็ถือว่าใช้กิจกรรมมีส่งออกอากาศผ่านดาวเทียม ที่ยิงจากดาวเทียมไปประเทศไหนก็แล้วแต่ หลักการไม่มีใครปฏิเสธว่าทำไม่ได้ ก็คือทำได้ แต่ทำยังไงจะทำได้ก็ต่อเมื่อต้องคำนึงถึงหลักสิทธิอธิปไตยของรัฐ

ในเชิงกฎหมายตรงนี้มีข้อพึงสังเกตว่าในความตกลงต่างๆ ที่เราเห็นมาโดยเฉพาะ space treaty พูดถึงเรื่องของอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ในกฎหมายหลายๆ หลักที่เราเห็นมันจะพูดถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐในดินแดนของตนเอง ถ้าดูในกฎหมายทะเล จะเห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่าง Sovereignty กับ sovereign right ในการใช้อำนาจอธิปไตยกับการใช้สิทธิอธิปไตย ในหลักกฎหมายเราบอกว่ารัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตนเอง (sovereignty) ดินแดนของตนเอง ได้แก่ แผ่นดิน น่านน้ำ ภายในทะเลอาณาเขต และน่านฟ้าเหนือบริเวณเหล่านั้น แต่ทั้งนั้นกฎหมาย.. รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยในเขตที่เรียกว่าไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

เพราะว่าเรากำลังพูดถึงกฎหมายที่ตั้งอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของรัฐและอยู่นอกเจตนาอำนาจอธิปไตยของรัฐ ว่าการยิงสัญญาณจากดาวเทียมลงมาสู่ภาคพื้นดินจะผ่านส่วนที่เย็น Outer space (อวกาศ) แล้วก็ผ่านลงมาสู่ชั้นที่เย็น air space ลงมาสู่พื้นดิน ไม่มีใครบอกว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตย เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ไปตีความว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยจึงใช้คำที่มีความหายที่อ่อนลงมา คือ สิทธิอธิปไตย เพราะถ้าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยนี้ยุ่งมาก ถ้าบอกว่ากิจกรรมการออกอากาศทางโทรทัศน์โดยตรงระหว่างประเทศผ่านดาวเทียม เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตย ค่อนข้างจะมีนัยทางกฎหมายที่ค่อนข้างจะยุ่งมาก เพราะการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐโดยอีกรัฐหนึ่งเป็นปัญหารุนแรงทางกฎหมายระหว่างประเทศและโดยหลักการไม่ใช่การละเมิดอำนาจอธิปไตยเพราะฉะนั้นจึงลดถ้อยคำลงมาให้เป็นแค่สิทธิอธิปไตยของรัฐ ซึ่งรวมไปถึงสิทธิที่รัฐสามารถปกป้องวัฒนธรรมของตนเอง อะไรก็แล้วแต่ของตนเองในเชิงเหล่านั้นด้วย

2. กิจกรรมดังกล่าวเหล่านั้นจะต้องช่วยส่งเสริมการเผยแพร่และการแลกเปลี่ยนร่วมกันโดยเสรี ซึ่งข้อมูล ข่าวสารและความรู้ในด้านวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ ในด้านการพัฒนา การศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศกำลังพัฒนา ช่วยเพิ่มพูนคุณภาพของชีวิต ให้กับประชาชนโดยทั่วไป และเป็นสันทนาการให้กับประชาชน ทั้งนี้ต้องเคารพในบูรณภาพ (Integrity) ของรัฐ ความด้านการเมืองและวัฒนธรรม

3. กิจกรรมเหล่านี้ควรที่จะควรที่จะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และสร้างเสริมความสัมพันธ์ในเชิงมิตรไมตรี ตลอดจนความร่วมมือระหว่างรัฐทุกรัฐและประชาชนทุกเชื้อชาติ เพื่อประโยชน์ในการดำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศทำไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อความร่วมมือที่ดีระหว่างกัน และเพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นั้นก็เป็นจุดประสงค์ของหลักการที่ว่าด้วยการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ข้อ B เป็นเรื่องของการนำเอากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ ภายใต้ข้อ B มีมาตรการเดียวก็คือ วรรค 4

4. กิจกรรมต่างๆ ในด้านการเผยแพร่ภาพโทรทัศน์โดยตรงระหว่างประเทศผ่านดาวเทียมนั้น ควรจะดำเนินไปให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งหลักต่างๆ ที่อยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา space treaty 1967 (สนธิสัญญาอวกาศปี 1967) บทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของ อนุสัญญาว่าด้วยโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องวิทยุโทรทัศน์และความตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ฉันท์มิตร และความร่วมมือระหว่างรัฐและที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

……………………………………………

เกี่ยวกับ teerayaut

จงทำความดี เพื่อวันข้างหน้า..
ข้อความนี้ถูกเขียนใน ความรู้เรื่องกฎหมาย คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น